f
title
แขวงทางหลวงเพชรบูรณ์ที่ 1
phetchabun 1 highway district
วิสัยทัศน์ : มุ่งพัฒนาและบำรุงรักษาทางหลวง โดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่ออำนวยความสะดวกและปลอดภัย ในการสัญจรของผู้ใช้ทาง
สวนไผ่เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ
ลงวันที่ 07/05/2564

ประวัติความเป็นมา

สวนไผ่เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินี ทรงมีพระบรมราโชบายส่งเสริมอาชีพต่างๆ ให้แก่ราษฎรในชนบท งานจักสานด้วยไม้ไผ่เป็นโครงการหนึ่งของพระองค์ท่านเมื่อปี พ.ศ. 2881 นายเฉลียว วัชรพุกก์ อธิบดีกรมทางหลวง ได้ริเริ่มให้มีการปลูกไผ่พันธุ์ต่างๆ ที่มีอยู่ภายในประเทศในบริเวณที่พักริมทางขนาดใหญ่ เขตการทางละ 1 แห่ง และ ตามแขวงการทางต่างๆ ที่มีที่ดินเหมาะสม โดยมีวัตถุประสงค์ให้ประชาชนได้รู้จักและมีความสนใจช่วยกันปลูกพันธุ์ที่ดีและเหมาะสมให้มากขึ้น และเพื่ออนุรักษ์พันธุ์ไผ่ทั่วประเทศ และเมื่อ พ.ศ.2520 นายเฉลียว วัชรพุกก์ อธิบดีกรมทางหลวง ได้ให้แขวงการทางเพชรบูรณ์ที่ 1 หาพื้นที่ที่เหมาะสมในการปลูกอนุรักษ์พันธุ์ไผ่ทั่วประเทศ โดยนำไผ่แต่ละภาคในประเทศไทยมาปลูกและ แขวงฯ จึงใช้ที่ดินราชพัสดุ เลขที่ พช.861 เนื้อที่ 84 – 1 – 50 ไร่ ในทางหลวงหมายเลข 21 ตอน เพชรบูรณ์ – บุ่งน้ำเต้า กม.226+077 - กม.227+077 ด้านขวาทาง โดยนำพันธุ์ไผ่ของภาคเหนือ, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, ภาคใต้, ภาคกลาง มาปลูกโดยใช้เนื้อที่ จำนวนเนื้อที่ 67 – 1 – 65 ไร่

เดิมถนนรอบบริเวณ สวนไผ่เป็นถนนลูกรัง ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2533 แขวงฯ ได้ปรับปรุงเป็นถนนลาดยาง และได้สร้างศาลาหกเหลี่ยม, สุขา, ที่ออกกำลังกาย ไว้ให้บริการแก่ผู้ที่มาพักผ่อนและออกกำลังกาย


'